ออกกำลังกายและควบคุมอาหารแล้ว แต่น้ำหนักยังขึ้นไม่หยุด?

ออกกำลังกายและควบคุมอาหารแล้ว แต่น้ำหนักยังขึ้นไม่หยุด?
บางคนที่ ใช้ชีวิตอย่างสุขภาพดี ทั้งออกกำลังกายเป็นประจำและ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ในปริมาณที่พอเหมาะ อาจจะงงและ หงุดหงิดว่าทำไมน้ำหนักถึงยังได้ขึ้นเอาเรื่อยๆ เราขอนำเสนอ 5 สาเหตุที่คุณอาจคาดไม่ถึงดังต่อไปนี้ค่ะ:

1. นอนไม่พอ
เวลา ที่คนเรานอนไม่พอ ร่างกายจะกักเก็บไขมันได้ดีขึ้น นอกจากนั้น คนที่นอนไม่พอมักจะเครียดง่ายขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้หาอาหารหรือ ขนมมาบรรเทาความเครียด คุณควรจะพยายามนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ชั่งโมง นอกจากนั้น การนอนตรงเวลาทุกวันและ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณนอนหลับได้สนิทขึ้น

2. ความเครียด
ความ เครียดก่อให้เกิดกระบวนการทางเคมีที่ทำให้ร่างกายเราเข้าสู่ภาวะของการ ประทังชีวิต (survival mode) ซึ่งทำให้ร่างกายกักเก็บไขมันเพิ่มขึ้น เผาผลาญช้าลง และหลั่งสารเคมีต่างๆเช่น คอร์ติซอล เลปติน ฯลฯ ที่มีส่วนทำให้ไขมันถูกกักเก็บอยู่ตรงหน้าท้องโดยเฉพาะ มากกว่านั้น คนที่อยู่ในภาวะความเครียดมักจะชอบอาหารที่มีแป้งและ น้ำตาลเยอะ เนื่องจากอาหารเหล่านี้ทำให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (serotonin) ออกมามากขึ้น โดยสารนี้เป็นสารที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือการรับประทานแคลอรี่มากขึ้นโดยที่อาจจะไม่รู้ตัว ดังนั้น เราขอแนะนำว่า คุณควรหาวิธีแก้เครียดที่ไม่ใช้อาหาร เช่น การออกกำลังกาย เล่นโยคะ นวดอโรมา ฟังเพลง เต้นลีลาศ หรือ นั่งสมาธิค่ะ

3. การรับประทานยา
ยา บางชนิดที่คุณหมอจ่ายให้คุณเพื่อรักษาโรค อาจเป็นต้นเหตุของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า, อารมณ์แปรปรวน, ไมเกรน, ความดันสูงและเบาหวาน ในบางคนน้ำหนักอาจจะขึ้นเพียงไม่กี่กิโล แต่บางคนอาจจะขึ้นได้ถึงเดือนละ 5 กิโล หากคุณน้ำหนักขึ้นมาเดือนละมากกว่า 2 กิโล และได้ใช้ชีวิตเหมือนเดิมทุกอย่าง การรับประทานยาอาจจะเป็นสาเหตุที่คุณคาดไม่ถึงก็ได้

ยาแต่ละตัวมีผล ในการทำให้น้ำหนักขึ้นไม่เหมือนกัน ยาอาจทำให้คุณอยากอาหารมากขึ้น ปรับกระบวนการกักเก็บไขมันในร่างกาย ทำให้ร่างกายบวมน้ำหรือ ปรับระดับของอินซูลินในเลือด แต่ในกลุ่มของยาแก้โรคซึมเศร้า น้ำหนักตัวของผู้ป่วยอาจจะไม่ได้ขึ้นเพราะการรับประทานยา แต่อาจจะเป็นเพราะทานยาแล้วอารมณ์ดีขึ้น เลยทานได้มากขึ้นกว่าเดิม
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ากลุ่มยาหลักๆที่อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นคือ:
- สเตียรอยด์
- ยาแก้โรคซึมเศร้า
- ยาแก้โรคเบาหวาน
- ยาลดความดัน -
ยาแก้โรคกรดไหลย้อน
อย่าง ไรก็ตาม อย่าลืมว่าการที่ทานยาแล้วหายจากโรค อาจจะคุ้มกับการที่น้ำหนักตัวขึ้นนิดๆหน่อยๆนะคะ นอกจากนั้น การรับประทานยาอาจจะเป็นหนึ่งในหลายๆสาเหตุของการเพิ่มน้ำหนัก ดังนั้น เราแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะด่วนสรุปและ ตัดสินใจหยุกยาค่ะ

4. ความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ (hypothyroidism)
การ ขาดฮอร์โมนไธรอยด์ทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ช้าลง ดังนั้นน้ำหนักจึงเพิ่มขึ้น หากคุณรู้สึกอ่อนเพลียและ มีอาการตัวบวม เสียงแหบ หนาวง่าย นอนมากเกินปกติ หรือ ปวดหัวบ่อยๆ คุณควรจะพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าการทำงานของต่อมไธรอยด์มีปัญหาหรือไม่ อีกโรคหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นคือโรค Cushing's Syndrome ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป แต่โรคนี้เป็นโรคที่พบไม่บ่อยนัก

5. วัยทอง
เมื่อ ผู้หญิงอายุมากขึ้น การเผาผลาญก็จะช้าลงตามธรรมชาติ และเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย อาจทำให้หิวง่ายขึ้น นอนไม่หลับหรือ เกิดอาการซึมเศร้า มากกว่านั้น การสูญเสียฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยทอง ทำให้การกักเก็บไขมันในร่างกาย เปลี่ยนจากช่วงล่าง (สะโพกและ ต้นขา) เป็นช่วงหน้าท้อง แพทย์แนะนำว่าผู้หญิงวัยทองควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกักเก็บไขมันที่มากเกินไปและ เพื่อเพิ่มมวลกระดูก ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนด้วยค่ะ

0 comments: