“อ้วน” ไม่ใช่สุขภาพดีอย่างอย่างที่คิด

“อ้วนท้วนสมบูรณ์ดีนะ” “อ้วนเต่งตึงดีจัง มองดูไม่แก่เลย” “อ้วนดีมีไขมันเยอะจะได้ไม่หนาว” คำทักทายเหล่านี้มักจะสร้างความพึงพอใจเพราะเปรียบเสมือนคำชื่นชม จนทำให้เกิดความคิดว่า อ้วนทำให้ดูดี มีสง่าราศีและมีอันจะกิน แต่ในความเป็นจริงอันตรายที่แอบแฝงร่วมอยู่กับความอุดมสมบูรณ์มากเกินพอดี ของร่างกาย อาจนำไปสู่อันตรายที่เราคาดไม่ถึงได้ ด้วยเหตุนี้“อ้วน” จึงถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวและปริมาณไขมัน สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินกว่าเกณฑ์ปกติที่กำหนดไว้

โรคอ้วนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ โรคอ้วนทั้งตัว (Body Total Obesity) : ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติโดยไขมันที่เพิ่มมิได้จำกัด อยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง โรคอ้วนลงพุง (Abdominal Obesity) : ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันในอวัยวะภายในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจจะมีไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วย โรคอ้วนลงพุงร่วมกับอ้วนทั้งตัว (Abdominal and Body Total Obesity) : ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันมากทั้งตัวและอวัยวะภายในช่องท้อง

สาเหตุของโรคอ้วน แม้ว่าสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดโรคอ้วนยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคอ้วนได้มีดังต่อไปนี้ วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร : เมื่อไรก็ตามที่เกิดการ “กินตามใจปาก” “กินจุกกินจิกไม่มียับยั้ง ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไขมัน แป้ง และของหวาน จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะความไม่สมดุลระหว่างความรู้สึกหิวกับความรู้สึกอิ่ม มีแต่ความอยากที่เพิ่มขึ้น เป็นผลให้มีการกินเพิ่มมากขึ้นถึงขั้นที่เรียกว่า “ กินจุ ” ก่อให้เกิดการสะสมของไขมัน พอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเป็นโรคอ้วนในที่สุด วัฒนธรรมการดำรงชีวิต : การดำเนินชีวิตอย่างสบาย มีเครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น ยังผลให้การเคลื่อนไหวในการทำงานน้อยลง และการที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารลดน้อยลง ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป จะมีความเชื่องช้าเพิ่มมากขึ้น

การใช้พลังงานน้อยลง ทำให้กินมากกว่าใช้ โรคอ้วนก็จะเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย ความผิดปกติทางด้านจิตใจและอารมณ์ : สภาพจิตใจและสภาวะทางอารมณ์ มีผลกับการกินอาหารของคนจำนวนไม่น้อย ซึ่งมีความรู้สึกว่าอาหารทำให้จิตใจสงบ ฉะนั้นบุคคลเหล่านี้จะกินอาหารเพื่อระงับความโกรธ เพื่อดับความคับแค้นใจ คลายความกลุ้มใจ ไม่เว้นแม้แต่การกินอาหารเมื่อมีความดีใจ กรณีเหล่านี้ก่อให้เกิดความอ้วนได้อย่างรวดเร็ว กรรมพันธุ์ : ครอบครัวที่พ่อและแม่อ้วนทั้งสองคน ลูกมีโอกาสถึง 80% ที่จะอ้วน สำหรับครอบครัวที่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วน ลูกมีโอกาสประมาณ 40% ที่จะอ้วน โรคประจำตัว : ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อในร่างกาย เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติทำให้ร่างกายเผาผลาญอาหารน้อยลง ส่งผลให้มีการสะสมของไขมันเพิ่มมากขึ้น การรับประทานยาบางชนิด : ยาบางชนิด เช่น Steroids, ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาลดความดัน ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ทำให้เพิ่มความอยากรับประทานอาหาร ปริมาณการบริโภคอาหารจึงมากขึ้น ส่งผลให้ความอ้วนเกิดได้ง่าย


วิธีการประเมินหาโรคอ้วน การสำรวจตัวเองด้วยสายตาหรือพิจารณารูปร่างของตัวเองหน้ากระจก ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า “เราเป็นโรคอ้วนหรือเปล่า?”จำเป็นต้องใช้วิธีการตามหลักสากลสำหรับการ ประเมินหาโรคอ้วน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1.การคำนวณหาสัดส่วนระหว่างเส้นรอบเอวกับเส้นรอบสะโพก(WAIST – HIP RATIO : WHR): โดยนำความยาวของการวัดรอบเอวมาหารด้วยความยาวของรอบสะโพก เมื่อได้ค่าออกมาแล้วนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นผู้ชายต้องมีค่าไม่เกิน1.0และผู้หญิงต้องมีค่าไม่เกิน0.8

2.การหาค่าดัชนีมวลกาย(Body Mass Index : BMI) : เป็นวิธีที่สะดวก ตรวจสอบได้ง่าย และใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งสามารถคำนวณโดยใช้สูตรดังนี้
BMI = น้ำหนัก (ก.ก.) / ส่วนสูง 2 (เมตร2)


ดัชนีมวลกายเท่าไรจึงถือว่าอ้วน
ดัชนีมวลกาย การแปลผล <> 40.0 โรคอ้วนขั้นที่ 3

3.การตรวจสอบปริมาณไขมัน :โดยมีหลักเกณฑ์ คือ สำหรับผู้ชาย ไม่ควรมีปริมาณของไขมันในตัวเกินกว่าร้อยละ12 – 15 ของน้ำหนักตัว สำหรับผู้หญิง ไม่ควรมีปริมาณของไขมันในตัวเกินกว่าร้อยละ18 – 20 ของน้ำหนักตัว แต่วิธีการตรวจสอบจะยุ่งยากมาก เนื่องจากต้องทำในห้องทดลองจึงไม่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

0 comments: