น่าตกใจ หญิงสูงอายุไทยเป็นกระดูกพรุนถึง1ใน7

1 ใน 7 ของผู้หญิงไทยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป...เป็นโรคกระดูกพรุน
น่าตกใจ หญิงสูงอายุไทยเป็นกระดูกพรุนถึง 1 ใน 7

1 ใน 20 ของคนที่เป็นกระดูกพรุน...เกิดกระดูกสะโพกหัก
1 ใน 6 ของผู้ที่เกิดกระดูกสะโพกหัก...จะเสียชีวิตใน 1 ปี
1 ใน 3 ของผู้ที่เกิดกระดูกสะโพกหัก...จะเสียชีวิตใน 5 ปี
ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีผู้หญิงอายุตั้งแต่ 50 ปี ประมาณ 6.7 ล้านคน มีความชุกของโรคกระดูกพรุนถึงร้อยละ 13.6-19.8 โดยเฉพาะที่ภาคอีสาน (จ.ขอนแก่น) มีสูงถึงร้อยละ 19.3-24.7
มีการคาดการณ์ว่ามีผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนถึงประมาณ 1 แสนคนที่กระดูกสะโพก และมีถึง 1.3 ล้านคนที่เป็นกระดูกพรุนที่กระดูกสันหลัง!!
คาดว่าจะมีผู้ที่เกิดกระดูกสะโพกหักถึง 42,000 คน และจะมีผู้เสียชีวิตภายหลังกระดูกสะโพกหักถึง 7,140 คนภายใน 1 ปี
หากรอดพ้นการเสียชีวิต ก็จะมีโอกาสทุพพลภาพถึงขั้นเดินไม่ได้ถึงร้อยละ 22.1

ฟัง สถิติที่เกิดขึ้นในเมืองไทย เผยแพร่โดย รศ.นพ.ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมูลนิธิกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย ว่าไว้อย่างนี้ดูน่ากลัวไม่น้อย บอกให้รู้ว่าผู้หญิงไทยเรายังเสี่ยงต่อกระดูกพรุนกันมากจนต้องรีบออกมาเตือน ให้หาทางระวังป้องกัน อันที่จริงโรคกระดูกพรุนสามารถเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ทราบหรือไม่คะว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่าผู้ชาย! เป็นเพราะเหตุใดกัน?
มีงาน วิจัยที่ศึกษาจนได้ข้อสรุปว่า ผู้หญิงมีต้นทุนทางกระดูกต่ำกว่าผู้ชาย คือ มีการสะสมเนื้อกระดูกไว้ได้น้อยกว่าผู้ชาย เหตุผลหลักๆ ที่มาสนับสนุนเรื่องนี้ได้แก่การที่ผู้หญิงมักจะ กลัวแดด มีโอกาสออกไปกลางแจ้งตากแดดน้อยกว่าผู้ชาย จึงทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีน้อย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในประเทศไกลจากเขตศูนย์สูตรจะยิ่งพบการขาดวิตามินดีจากแสง แดดมากขึ้น แถมผู้หญิงยังมีโอกาสออกกำลังกายน้อยกว่าด้วย ทำให้กระบวนการสร้างมวลกระดูกทำได้ไม่เต็มที่อย่างในผู้ชาย จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อถึงวัยที่มีการสลายมวลกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก จึงทำให้เนื้อกระดูกบางลงจนถึงระดับกระดูกพรุนได้เร็วกว่า ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงจะมีการลดระดับลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นกระบวนการที่เร่งให้มวลกระดูกสลายเร็วยิ่งขึ้นไปอีก ในขณะที่ผู้ชายซึ่งมีโอกาสอยู่กลางแจ้งมากกว่า มีโอกาสออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวมากกว่า แถมไม่มีช่วงเวลาที่ฮอร์โมนเพศลดลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ จึงทำให้ผู้ชายกระดูกพรุนช้ากว่าผู้หญิง
ด้วย เหตุนี้จึงพบว่าผู้หญิงวัยทองที่หมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 10-20 ปี เป็นโรคกระดูกพรุนกันมาก เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก ซึ่งมีโอกาสกระทบกระแทกแตกหักง่ายเป็นพิเศษ
อย่าง ไรก็ตามคุณผู้หญิงทุกคนสามารถป้องกันกระดูกพรุนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ อย่ารอจนถึงวัยหมดประจำเดือนแล้วค่อยคิดถึงเรื่องนี้เพราะมันอาจสายเกินไป สิ่งสำคัญที่สุดคือ การสะสมแคลเซียมในกระดูกให้เพียงพออย่างสม่ำเสมอตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยไปจน ถึงวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายจะมีมวลกระดูกหนาแน่นสูงที่สุด ร่วมกับการชะลอการสลายมวลกระดูกอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยการรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมสูงพร้อมทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีคุณค่าต่อการสร้างเสริม กระดูก เช่น ผลิตภัณฑ์นมที่เสริมวิตามินเค วิตามินดี วิตามินซี แมกนีเซียม
ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today

0 comments: