10 เทคนิคในการดูแลสุขภาพหัวใจ( Tops 10 Tips for a healthy heart)




http://www.nhlbi.nih.gov/health/dci/images/heart_coronary_artery.gif

หัวใจถือได้ว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมากที่สุดของคนเรา หัวใจทำงานตลอดโดยไม่มีหยุดพักตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน ในครรภ์มารดาจน กระทั่งเวลาสุดท้ายของชีวิต โดยเฉลี่ยแล้วหัวใจเต้นถึงวันละ100,000 ครั้ง เพื่อทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายนำ ออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ และขับของเสียออกจากร่างกาย เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่ง จำเป็น ซึ่งไม่ยากเลยถ้าจะนำไปปฏิบัติ เคล็ดลับในการดูแลสุขภาพของหัวใจที่นำมาฝากกันมีดังนี้

1. Stop smoking
สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ แน่นอนว่าการเลิกสูบบุหรี่จะช่วยให้สุขภาพร่างกายโดยรวมดีขึ้น รวมถึง สุขภาพของหัวใจด้วยว่ากันว่าการสูบ บุหรี่ทำให้เกิดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง2 เท่า


2. Cut down on salt
การติดนิสัยที่ชอบทานอาหารรสเค็มหรือมีเกลือเป็นส่วนประกอบมากเกินไปก็เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้ หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด


3. Watch your diet
การทานอาหารให้ถูกสัดส่วนตามหลัก โภชนาการเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยชะลอการเกิดโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลสูง แล้วเพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ซึ่งมีกากใยอาหารสูงซึ่งจะช่วยลดระดับคอเล สเตอรอลและ ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดซึ่งจะส่งผลเสียโดยตรงต่อการทำงานของหัวใจ


4. Monitor your alcohol
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะพิ่ม ความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบเนื่องจากความดันโลหิตและไตรกลีเซอ ไรด์ที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจรวมทั้งนำไปสู่ภาวะน้ำหนัก เกินได้อีกด้วย


5. Get active
เนื่องจากหัวใจก็เป็นกล้ามเนื้อชนิดหนึ่ง ที่ต้องการการบริหารเช่นเดียวกัน เพื่อให้ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพการ บริหารกล้ามเนื้อหัวใจที่ดีที่สุดก็คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่าง น้อยวันละ 30นาที โดยไม่ หักโหมจนเกินไป นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นด้วย


6. Manage your weight
แน่นอนว่าโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกินจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้าย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ ฉะนั้นควรควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายมีน้ำ หนักตัวที่สัมพันธ์กับส่วนสูง จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง รวมถึงบุคลิกภาพที่ดีด้วย


7. Get your blood pressure and cholesterol levels checked
ควรตรวจร่างกายเป็นประจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจความดันโลหิตและระดับคอเลสตอรอล ซึ่งเป็น ตัวชี้วัดความเสี่ยงต่อการเกิดการโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งหากพบว่าสูงกว่าปกติจะได้หาวิธีควบคุมหรือรักษาได้ทันท่วงที


8. Learn to manage your stress levels
หลายคนเมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น มักจะหันไปพึ่งการดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ จนติดเป็นนิสัย แน่นอนว่านอกจากไม่ดีต่อสุขภาพแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย ฉะนั้นหากเกิดความเครียดต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับมันอย่างถูกวิธี


9. Check your family history
แน่นอนว่าหากมีพ่อแม่ญาติพี่น้องมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัวเราก็มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นเช่นนี้จะต้อง ดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษ


10. Make sure you can recognize the early signs of coronary heart disease
โรคที่เกี่ยวกับหัวใจมีหลายชนิด อาจมีอาการหลายแบบ ที่พบส่วนใหญ่มักมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก เจ็บร้าวไปที่คอ กราม ลิ้นปี่ เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ใจสั่น อาการเหล่านี้อาจเป็นอีกสัญญาณเตือนของความผิดปกติของหัวใจได้ ดังนั้นหากมี อาการเหล่านี้ก็อย่าละเลย ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

0 comments: