อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(Erectile Dysfunction: ED)


โครงสร้างของอวัยวะเพศ


อวัยวะ เพศของผู้ชายประกอบไปด้วยท่อสามท่อเหมือนพองน้ำเรียกว่า corpus carvernosum สองท่อวิ่งขนานกับท่อปัสสาวะ อยู่ด้านบน และ corpus spongiosum 1 ท่อวิ่งอยู่ด้านล่าง เมื่ออ่อนตัวความยาวอยู่ประมาณ 8.8 ซม.เมื่อได้รับการกระตุ้นเลือดจะเข้าท่อฟองน้ำทำให้มันสามารถขยายได้มากถึง 7 เท่าทำให้อวัยวะเพศใหญ่ขึ้นและแข็งตัวขึ้นและมีความยาว 12.9 ซม.ตราบเท่าที่ยังมีการตื่นเต้นทางเพศอวัยวะเพศก็ยังแข็งตัว แต่เมื่อมีการหลั่งเลือดออกจากอวัยวะเพศทำให้มีการอ่อนตัว


อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(Erectile Dysfunction: ED)เป็นโรคที่พบบ่อยและก่อให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวันหลายด้าน จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ชายไทยอายุ 40-70 ปี มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศสูงถึงร้อยละ 42 หรือ 3.5 ล้านคน สาเหตุส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจากการลดระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน อายุที่เพิ่มขึ้น หรือปัญหาทางจิตใจ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง โรคไต โรคหัวใจ หลอดเลือดแข็งตัว เป็นต้น โดยโรคเหล่านี้ทำให้เกิดความผิดปกติต่อหลอดเลือด เส้นประสาทต่างๆ ที่มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ


หลายคนคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า เพศสัมพันธ์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ใช้ถ่ายทอดความรัก ความสุข ความผูกพันให้แก่กันและกัน ช่วยค้ำจุนให้ชีวิตรักมีความสุขอย่างยั่งยืน และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของคู่รักด้วย สำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศควรรีบดูแลตนเองแต่เนิ่นๆ เพื่อรักษาโรคที่แฝงอยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมและสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว


ข้อแนะนำในการดูแลตนเองสำหรับผู้ที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ


1.Self care

ผู้ที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศควรใส่ใจดูแลตนเองเป็นพิเศษ อาทิเช่น งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ลดความเครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจหาโรคแฝง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง


2. Drug therapy

ปัจจุบันมียาที่ใช้ในการรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เช่น Viagra®,Levitra®,Cialis®แต่อย่างไรก็ตามควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด


3. Supplements therapy

แอล-อาร์จินีน(L-Arginine)เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและจำนวนเชื้ออสุจิการที่หลอดเลือดเกิดการขยายตัวได้นั้น จำเป็นต้องใช้สารที่เรียกว่า Nitric oxideโดยจะหลั่งออกมาเมื่อมีการกระตุ้นทางเพศ ซึ่งในการสร้างสาร Nitric oxide นั้นจำเป็นต้องอาศัยอะมิโนแอล-อาร์จินีน เป็นสารตั้งต้น ผู้ที่มีปัญหาอาการย่อนสมรรถภาพทางเพศแนะนำให้รับประทาน 1,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน


โสม(Ginseng)พืชสมุนไพรจีนที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและมีประวัติการใช้มายาวนาน สรรพคุณของโสม คือ เพื่อบำรุงสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะชาวจีนให้โสมเป็นยาอายุวัฒนะที่สามารถรักษาโรคได้สารพัดชนิดเลยทีเดียว รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไตทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพศมากขึ้น


สารสกัดจากใบแปะก้วย(Ginkgo biloba) พบว่า สารสกัดจากใบแปะก้วยมีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมทั้งอวัยวะเพศได้ดีมีการศึกษาในชายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยได้รับสารสกัดจากใบแปะก้วย 240 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 9 เดือน พบว่ามีความพึงพอใจถึง 76% (J Sec Educ Ther;1991)


สังกะสี (Zinc)เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์มากกว่า 200 ชนิดในร่างกาย โดยเฉพาะในการทำงานร่วมกับเอนไซม์ที่ใช้เสริมสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน


4. Other therapies

นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการรักษาอีกหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การใช้กระบอกสูญญากาศ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อประโยชน์สูงสุดของท่านเอง

0 comments: