6 วิธีกันกระดูกพรุน



ทราบ มั้ยคะว่า โรคกระดูกพรุนสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายเช่นเดียวกัน ? ในสหรัฐอเมริกา มีผู้หญิงกว่า 8 ล้านคนที่เป็นโรคนี้ และผู้ชายอีกกว่า 2 ล้านคนที่เป็นโรคนี้ อย่างไรก็ตาม วันนี้ GNC Health Advisor มี 6 เคล็ดไม่ลับที่จะช่วยให้คุณป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนค่ะ


1. รู้อาการของโรคกระดูกพรุน

หากคุณมีความรู้ว่าอาการของโรคกระดูกพรุนมีอะไรบ้าง คุณก็จะสามารถหยุดความเสียหายต่อกระดูกของคุณได้แต่เนิ่นๆนะคะ


ในช่วงแรกของการเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยมักจะไม่รู้สึกเจ็บปวดอะไร แต่จะมารู้ว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่อพบว่ามีกระดูกร้าว ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นกระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือที่จะร้าวก่อนเมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน และเมื่อกระดูกเปราะบางลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยก็จะเริ่มรู้สึกปวดหลัง เตี้ยลง หรือหลังค่อมมากขึ้น


โรค กระดูกพรุนเกิดขึ้นเพราะว่าร่างกายสูญเสียมวลกระดูกมากกว่าที่สามารถผลิต ขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ ก่อนที่คนเราอายุ 35 ร่างกายจะสามารถผลิตมวลกระดูกมาทดแทนได้เร็วและ ในจำนวนที่มากกว่าที่เสียไป แต่พอเราอายุ 40 กว่า ร่างกายก็จะไม่สามารถสร้างมวลกระดูกขึ้นมาทดแทนที่เสียไปได้อย่างเพียงพอค่ะ


2. วัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเป็นประจำ

การ ตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเป็นสิ่งที่ง่ายและไม่เจ็บตัวเลยค่ะ วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกคือการใช้ Dual Energy X-Ray Absorptiometry (DEXA) ซึ่งจะวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกในบริเวณสันหลัง สะโพกและ ข้อมือ- 3 บริเวณหลักที่จะเกิดการร้าวจากโรคกระดูกพรุน นอกจากวิธีนี้ ยังมีการใช้คลื่นอัลตร้าเซานด์ และ CT Scan ที่สามารถตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกได้เช่นกัน


3. รักษาระดับเอสโตรเจนในร่างกาย

สำหรับ ผู้หญิง โรคกระดูกพรุนมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับวัยทอง เพราะวัยทอง หรือ ช่วงหมดประจำเดือน เป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง และฮอร์โมน เอสโตรเจนมีความสำคัญอย่างยิ่งกับความหนาแน่นของมวลกระดูก ขนาดที่ว่าการลดลงอย่างฮวบฮาบของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลทำให้ปริมาณของ มวลกระดูกลดลงถึงปีละ 1 - 3 %


สำหรับ ผู้ชายนั้น ฮอร์โมนเทสทอสเตอโรนส่วนหนึ่งจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่มีความสำคัญต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกในร่างกายของผู้ชายเช่นกัน ดังนั้น เมื่อผู้ชายเริ่มมีอายุมากขึ้น ระดับฮอร์โมนเทสทอสเตอโรนก็จะลดลง ซึ่งมีผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่แปลงมาจาดเทสทอสเตอโรนลดลงเช่นเดียวกัน และการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้ชายลดลง ก็ทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกของผู้ชายลดลงเช่นเดียวกับที่เป็นในร่างกาย ผู้หญิง


ดังนั้น หากโรคกระดูกพรุนของผู้ป่วยทั้งชายและ หญิงมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการทดแทนฮอร์โมนอย่างธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม เราอยากเตือนว่าการทดแทนฮอร์โมนอย่างธรรมชาติก็อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ดังนั้นผู้ป่วยควรจะปรึกษาแพทย์ให้ละเอียดถี่ถ้วน ก่อนที่จะตัดสินใจใช้วิธีนี้เป็นการรักษาค่ะ


4. รักษาระดับ pH ของร่างกาย

ความไม่สมดุลของระดับ pH (ความเป็นกรด-ด่าง) สามารถทำใหสูญเสียแคลเซียมในกระดูกได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคกระดูกพรุน ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย มลภาวะ และการรับประทานอาหารเปรี้ยวๆล้วนทำให้เกิดความเป็นกรดสูงในร่างกาย ในเมื่อร่างกายเราต้องคงสภาพความเป็นด่างนิดๆ สภาวะที่เป็นกรดจะทำให้ร่างกายเราต้องดึงเอาแร่ธาติที่มีความเป็นด่างมาช่วย ปรับสภาพ pH ให้กลับมาเหมือนเดิม โดยการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกเป็นต้น


การ ปรับอาหารจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยรักษาระดับ pH ในร่างกาย ในแต่ละวัน 60-80% ของอาหารที่คุณทานควรจะมีความเป็นด่างและ อีก 20-40% ควรจะมีความเป็นกรด ผลไม้และ ผักเกือบทุกชนิด (นอกจากมะเขือเทศ และผลไม้ตระกูลเบอรรี่) เป็นอาหารที่มีความเป็นด่าง ส่วนอาหารที่มีความเป็นกรดคือพวกโปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นต้น


5. ใช้ชีวิตอย่างสุขภาพดี

การ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลมากเกินไป และการขาดการออกกำลังกายล้วนแต่ทำให้หระดูกไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่าง เต็มที่ ดังนั้นจึงมีผลให้อัตราการสร้างมวลกระดูกน้อยลง


คุณ ควรจะออกกำลังกายอย่างน้อย อาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีเพื่อที่จะเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก การออกกำลังกายกลางแจ้งจะทำให้ร่าง

กายได้สร้าง วิตามิน D ที่จะช่วยให้กระดูกดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้นด้วยค่ะ


6. เสริมแคลเซียม

ผู้หญิง ก่อนวัยทอง และ ผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 65 ควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อย 500 mg ต่อวัน บางคนอาจจะต้องรับถึง 1000 mg ต่อวันเนื่องจากว่าร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างเต็มที่ และอาหารเสริมแคลเซียมบางชนิดไม่มี co-factor หรือสารประกอบ ที่จะช่วยในการดูดซึมของแคลเซียม เช่นวิตามิน ดี และ แมกนีเซียม แคลเซียมชนิดที่ดูดซึมได้ดีที่สุดคือ แคลเซียม ซิเทรท มาเลท ที่มีวิตามิน ดีและ แมกนีเซียมผสมอยู่ด้วย


ส่วนผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองแล้ว และ ผู้ชายที่อายุมากกว่า 65 ควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อย 1000-12000 mg ต่อวันค่ะ

0 comments: